ภาษีโรงเรือน และ ที่ดิน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนี้คือใครต้องยื่นชำระภาษีที่ไหน

ภาษีโรงเรือน

ภาษีโรงเรือน

ภาษีโรงเรือน คืออะไร ตอนแรกผมก็สงสัยครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยจะเข้าใจ ไอ้เรื่องเกี่ยวกับพวก กฏหมาย ภาษี เท่าไรนักแต่ว่าหลังจากศึกษาได้พักนึงก็เริิ่มเข้าใจว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คืออะไรกันแน่วันนี้เลยอยากที่จะมาแชร์ความรู้ข้อมูลต่อในภาษาที่เขียนเข้าใจง่ายที่สุด

นั้นคือ ภาษีที่เก็บจากโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น

หลังจากดูเรื่องภาษีโรงเรือนกับที่ดินแล้วลองมาดูรูปแบบน็อคดาวน์กันต่อดีกว่า | รูปแบบบ้านน็อคดาวน์

ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ในกรณีทั่วไปแล้วเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือน คือผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินที่ได้รับประโยชน์จากโรงเรือนและที่ดินหรือสร้างรายได้ขึ้น เช่น ให้เช่า ใช้เป็นที่ค้าขาย ใช้เป็นที่เก็บสินค้า ใช้ผลิตประกอบอุตสาหกรรม  ให้ญาติ บิดา มารดา บุตร หรือผู้อื่นอยู่อาศัย ใช้ประกอบกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้ และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย

ยกตัวอย่างในกรณีนี้

A : เป็นเจ้าของที่ดิน

B : เป็นเจ้าของอาคารให้เช่าห้องพักที่สามารถสร้างรายได้ให้ตัวเองได้

ผู้ที่ต้องเสียภาษี คือ B นั้นเองครับเนื่องจากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง

โรงเรือน คืออะไร

คำว่าโรงเรือนในที่นี้หมายถึง อาคา สนามม้า สนามมวย ตึกแถว บ้าน ร้านค้า สำนักงาน บริษัทโรงแรม ธนาคาร เป็นต้น

สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ

สิ่งปลูกสร้างอื่นๆในที่นี้หมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างบนที่ดินอย่างถาวร เช่น สะพาน ท่าเรือ ถังเก็บน้ำมัน

ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ รวมไปถึงที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นการใช้ประโยชน์ไปด้วยกันบนที่ดินที่ต่อเนื่องกัน

ทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ตามมาตรา 9 ว่าทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ไม่ต้องเสีย ภาษีโรงเรือน และที่ดิน

  • พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
  • ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟฯ โดยตรง
  • ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล
    และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและการศึกษา
  • ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
  • โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หรือในที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกัน
  • โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้
  • ตามมาตรา 10 หากโรงเรืยนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งเจ้าของที่มีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่เอง หรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษาและมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหลังประกอบอุตสาหกรรม (เช่น หากเป็นบ้านอยู่เองแต่แบ่งเป็นห้องๆ ให้เช่าก็ต้องเสียภาษีด้วย เพราะทรัพย์สินคือโรงเรือนก่อให้เกิดรายได้ขึ้นมาแล้ว)

ในกรณีเป็นบ้านที่พักอาศัยเพื่ออยู่อาศัยไม่จำเป็นต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่เดินเนื่องจากว่าไม่ได้นำมาสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง

ยื่นแบบแสดงภาษีเพื่อชำระภาษีได้ที่ไหน

  • สำหรับเจ้าของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ให้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภรด2 ภายในเดือน กุมภาพันธ์ ยืนได้ที่ ฝ่ายสำนักงานเขต ณ พื้นที่ทีทรัพย์สินตั้งอยู่
  • ถ้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินโรงเรือนและที่ดินหลายแห่งสามารถยื่นแบบแสดงรายการได้ที่ กองรายได้ สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

หลังจากยื่นแบบแสดงรายการแล้วเรียบร้อยแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะได้รับ ใบแจ้งการประเมิน ภรด8 ให้นำเอกสารดังกล่าวไปชำระภาษี ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขตทุกเขต หรือกองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือชำระภาษีผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาก็ได้เช่นกัน ภายใน 30 วัน

ขอบคุณข้อมูลจาก ddproperty และ ผู้เขียน เชษฐพล มานิตย์

สืบค้นเมื่อวันที่ 8/11/2560